About Us

DSC_7029edit_300บริษัท ยูนิคอม เอ็นจีเนียริ่ง จำกัด ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2522 ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท

ประกอบธุรกิจการนำเข้าสายเคเบิลโทรศัพท์ เนื่องจากในขณะนั้นไม่มีการผลิตสาย    เคเบิลโทรศัพท์ในประเทศ ทางบริษัทฯ จึงได้นำเข้าอุปกรณ์จากประเทศเกาหลี เพื่อใช้ในการวางโครงข่ายสายโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

เป็นบริษัทแรกที่นำเทคโนโลยี Pair Gain Device จากประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ามาใช้กับองค์การโทรศัพท์ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถเพิ่มศักยภาพในการให้บริการคู่สายโทรศัพท์เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนคู่สายโทรศัพท์ในการให้บริการประชาชนในเวลานั้นในปี 2526 ได้ร่วมทุนกับบริษัท The Furukawa Electric Co., Ltd. และ FEC Thai Holding Co., Ltd. ในการจัดตั้งบริษัท ไทย ฟูรูคาวา ยูนิคอม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการวางสายเคเบิลโทรศัพท์ วางข่ายสายโทรศัพท์ สร้างข่ายสายเคเบิล และเคเบิลใยแก้วนำเข้าเทคโนโลยีการสื่อสารที่หลากหลายจากประเทศต่างๆ ทั้งจากยุโรป และสหรัฐอเมริกา เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 10 ล้านบาทเป็นตัวแทนจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ Motorola รายแรกในประเทศไทย

ติดตั้งระบบการจัดการและตรวจสอบวงจรเชื่อมโทรศัพท์ทางไกล ทั่วประเทศ (Rampart System) ซึ่งเป็นระบบการจัดการวงจร (Network Management) แรกขององค์การโทรศัพท์ฯ โดยควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Control) ในการรวบรวมการจัดการวงจรทางไกลทั่วประเทศไว้ส่วนกลาง เทคโนโลยีนี้ช่วยให้การจัดการวงจรมีประสิทธิภาพมากขึ้น การสื่อสารโทรคมนาคมของโลกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีในระบบ Analog มาเป็นระบบ Digital ส่งผลให้ประเทศไทยต้องปรับตัวตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น เช่นเดียวกับบริษัทยูนิคอมฯ ที่ได้นำเสนอเทคโนโลยีการสื่อสารที่สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป  เป็นผู้นำเทคโนโลยี Multi Service Access Platform และ UMUX บริษัท Keymile จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เข้ามายังประเทศไทย

องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ให้ความไว้วางใจ บริษัท ยูนิคอมเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ในการติดตั้งระบบ Sound Program Codex ที่ทำการส่งผ่านข้อมูลผ่านอุปกรณ์ UMUX เพื่อรองรับการถ่ายทอดสดทางด้าน วิทยุ โทรทัศน์ งาน Asian Game ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นในประเทศไทย ผลการดำเนินงานระบบของบริษัทฯ ให้ผลเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก และการถ่ายทอดสดจากงาน Asian Games ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งช่วงนั้นเกิดวิกฤตกาลค่าเงินบาทลอยตัว แต่ทางบริษัทฯ ก็สามารถฝ่าฟันวิกฤตดังกล่าวมาได้ จึงได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจจาก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ให้ทางบริษัทฯ ดำเนินการโครงการในการขยายเครือข่ายชุ มสายไปตามภูมิภาคต่างๆ ตามนโยบายขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยร่วมทุนกับทาง บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในการทำระบบ I-Voice (ระบบ Interactive ) รายแรกหรือระบบตอบรับอัตโนมัติเข้ามาใช้ในการเล่นเกมส์ทางโทรทัศน์ ซึ่งรายการแรกได้แก่ Hugo, โยโย่ , Joraze, คลังสมองประลองปัญญา จากนั้นได้มีการพัฒนาระบบเพื่อปรับใช้กับ รายการต่างๆอีกมากมาย อาทิเช่น รายการเลดี้ คอร์เนอร์ , ท้าพิสูจน์ , ภาพแรกในชีวิต , ยุทธภูมิกระทะเล็ก , เกมทายผล Daily Cinema , เกมทายผลบาสเกตบอล NBA , รายการผู้หญิง 2000 นอกจากนี้ ทางบริษัท ยูนิคอมเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ยังเป็นผู้ที่นำระบบผลการโหวตทางโทรศัพท์ที่มีในปัจจุบันซึ่งนำมาใช้ในช่วงแรกๆ คือ รายการ ฟังความรอบข้าง ซึ่งดำเนินรายการ ทาง Nation Channel

เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 20 ล้านบาท 2547 – ปัจจุบัน

ย้ายเข้าอาคารใหม่ ยูนิคอมเอ็นจิเนียริ่ง ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2547 ณ ที่ตั้งเดิมได้รับความไว้วางใจจาก บริษัทวิทยุการบิน แห่งประเทศไทย จำกัด ในการจัดทำระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับการบริการที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และการเชื่อมโยงไปยังสำนักงานใหญ่ทุ่งมหาเมฆได้เป็นตัวแทนจำหน่ายระบบโทรทัศน์วงจรปิดจาก Honeywell ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำของโลกเริ่มต้นงานด้าน Internetworking และวางระบบ TCP/IP (Ethernet) สำหรับองค์กรต่างๆนำเทคโนโลยี Pair Gain ยุคใหม่จากต่างประเทศฮังการี มาใช้ใน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) อีกครั้งหนึ่งได้รับความไว้วางใจจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในการนำอุปกรณ์ UMUX เป็นระบบสื่อสารระหว่างพระราชวังและตำหนักต่างๆ ทั่วประเทศ

ปรับปรุงระบบ Network Management สำหรับโครงข่ายวงจรเช่าของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้รองรับจำนวน Nodes กว่า 1800 แห่งทั่วประเทศ นับเป็น NMS ที่ใหญ่ที่สุดของ UMUX ในเอเชีย

    • ได้รับความไว้วางใจให้ปรับปรุงระบบโทรทัศน์วงจรปิด สำหรับตรวจสอบการขึ้น-ลง ของเครื่องบิน สำหรับพนักงาน ณ สนามบินดอนเมือง บริษัทวิทยุการบิน แห่งประเทศไทย จำกัด
    • นำเทคโนโลยีกล้องวงจรปิดระบบ ดิจิตอล สำหรับคลังน้ำมันหลายแห่ง ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เช่น จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดสงขลา เป็นต้น
    • ติดตั้งข่ายสายใยแก้วนำแสงจาก อุบลราชธานี ถึง ช่องเม็ก พร้อมทั้งอุปกรณ์ SDH STM-4 เพื่อให้บริการสื่อสารของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
    • ติดตั้ง MSAN จำนวน 43 แห่ง ทั่วภาคเหนือตอนล่างสำหรับบริการโทรศัพท์และ Broadband ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
    • ติดตั้ง DSLAM สำหรับบริการ Broadband ในเขตท่องเที่ยว เขาหลักจังหวัดพังงา ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
      • ติดตั้ง MSAN บริเวณสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 จังหวัดมุกดาหาร ของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
      • บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ขยายอุปกรณ์ UMUX เพิ่มอีกประมาณ 500 Nodes สำหรับให้บริการวงจรเช่า
      • บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ภาคตะวันออก ไว้วางใจให้ติดตั้ง MSAN ใน 4 จังหวัด รวม 35 แห่ง โดยครอบคลุมเขตท่องเที่ยวเมืองพัทยา และเขตอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ตลอดจนศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า ที่พัทยาและชลบุรี
      • ติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดในมหาวิทยาลัยหลายแห่งเช่น มหาวิทยาลัย

      เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน และวิทยาเขตกำแพงแสน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

      • บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ภาคใต้ ไว้วางใจให้ติดตั้ง กล้องวงจรปิดทั้งหมด 82สาขา ใน 4 จังหวัดชายแดน สงขลา, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส.